4.14.2555

เครื่องมือทางการบริหารสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน


ประเภทเครื่องมือการจัดการจำแนกตามแนวคิดและระดับการวิเคราะห์
     แนวคิดการจัดทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของสก๊อตต์ (Scott, 2003) ได้จัดประเภทเครื่องมือการจัดการเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจำแนกตามระดับ
ของการวิเคราะห์ (Level of Analysis) หรือระดับการใช้งานแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือระดับองค์การ (Organization) ระดับกลุ่ม (Group) และระดับ
เจกบุคคล (Individual)  ดังนี้
1) แนวคิดการจัดการแบบเหตุผลนิยมระบบปิด เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1900-1930 แนวคิดการจัดการแบบเหตุผลนิยมระบบปิดที่สำคัญ คือ แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific Management) ซึ่งเป็นการจัดการที่อาศัยข้อเท็จจริง รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังรวมถึงทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theories) ซึ่งเน้นหน้าที่ของผู้บริหารหรือการบริหาร และทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ที่เน้นลักษณะโครงสร้างองค์การที่มีการแบ่งงานกันทำ มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ มีกฎระเบียบ ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้เน้นความเป็นเลิศในด้านการทำงาน แนวคิดทั้งสามนี้เป็นพื้นฐานขององค์การแบบเครื่องจักร ซึ่งให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการทำงาน และการควบคุม ซึ่งแนวคิดนี้ถูกวิจารณ์ว่าละเลยการให้ความสำคัญของมนุษย์ (Organization without Man)
2) แนวคิดการจัดการแบบมนุษยนิยมระบบปิด แนวคิดนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องจากยุคแรก คือเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1930 โดยทฤษฎีการจัดการได้ปรับเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับมนุษย์มากขึ้น โดยเริ่มจากการทดลองที่ฮอร์ทอร์น (Hawthrone Studies) ซึ่งทำให้มีการสนใจเรื่องอารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติของคนมากขึ้นว่ามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของงานอย่างไร แนวคิดสำคัญที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ได้แก่ แนวคิดมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) แนวคิดทรัพยากรมนุษย์(Human Resources) ซึ่งรวมถึงทฤษฎีแรงจูงใจต่างๆ ทฤษฎี X ทฤษฎี Y แนวคิดทรัพยากรมนุษย์จัดเป็นการวิเคราะห์ทั้งในระดับกลุ่มและระดับบุคคล ส่วนแนวคิดมนุษยสัมพันธ์จัดอยู่ในระดับบุคคล(Scott, 2003)
3) แนวคิดการจัดการแบบเหตุผลนิยมระบบเปิด แนวคิดการจัดการแบบนี้เกิดขึ้นหลังแนวคิดเรื่องมนุษยสัมพันธ์ คือราวช่วงทศวรรษที่ 1950 โดยมีแนวคิดว่าเทคนิคด้านคณิตศาสตร์สามารถช่วยปรับปรุงการตัดสินใจและการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นจึงมีการนำเทคนิคด้านคณิตศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาทางการบริการ เช่น เทคนิคในการพยากรณ์ (Mathematical Forecasting) ตัวแบบคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Modeling) การสร้างแบบจำลอง(Simulation) เป็นการสร้างตัวแบบปัญหาซึ่งมีวิธีการแก้ไขในหลาย ๆ วิธีภายใต้ฐานคติที่ต่างกันนอกจากนี้ยังมีการตัดสินใจโดยใช้หลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ต้นทุน รายรับ ผลตอบแทนต่อการลงทุน ในยุคนี้จึงจัดได้ว่ามีการนำการจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Approach to Management) มาใช้นอกจากนี้ในช่วงประมาณ 1960 ได้มีการตระหนักว่าไม่มีทฤษฎีหรือวิธีการใดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดังนั้นแนวคิดของการจัดการแบบนี้ คือ การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) ระบบเปิด (Open Systems) การคิดตามสถานการณ์ (Contingency Thinking) แนวคิดนี้ยังครอบคลุมถึงเครื่องมือการจัดการอื่น ๆ ด้วยที่มีแนวคิดสอดคล้องกัน เช่น การวางแผนกลยุทธ์ รีเอ็นจิเนียริ่ง ต้นทุนกิจกรรม กรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง(Medium-Term Expenditure Framework-MTEF) การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (EconomicValue-Added Analysis-EVA) และการจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อพิจารณาระดับการวิเคราะห์แล้วพบว่าการนำการคำนวณเชิงปริมาณมาใช้ในการบริหาร การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการตามสถานการณ์ รีเอ็นจิเนียริ่ง MTEF และ EVA เป็นเครื่องมือที่มีระดับการวิเคราะห์ในระดับองค์การ ส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมและการจัดหาทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการวิเคราะห์ระดับกลุ่ม
4) แนวคิดการจัดการแบบมนุษยนิยมระบบเปิด ในยุคนี้มีการผสมผสานแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ในยุคนี้มีการจัดการใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ Balanced Scorecard, Learning Organization, Knowledge Management, TQM, PMQA, Core Competencies เครื่องมือการจัดการตามแนวคิดนี้มีการวิเคราะห์ทั้งสามระดับ กล่าวคือเครื่องมือการจัดการที่ใช้ในระดับองค์การ ได้แก่ Learning Organization, Knowledge-based Organization,TQM, BSC, PMQA, CRM, Six Sigma, Supply Chain Management ส่วนเครื่องมือการจัดการที่ใช้ในระดับกลุ่ม ได้แก่ BSC, Core Competencies, Organization Learning ส่วนเครื่องมือการจัดการที่ใช้ในระดับบุคคล ได้แก่ BSC, Core Competencies, Organization Learning, Knowledge Management และ e-Learning
เครื่องมือการจัดการตามแนวคิดการจัดทฤษฎีองค์การตามแนวคิดของสก๊อตต์ (Scott, 2003) 
ระดับการวิเคราะห์เหตุผลนิยมแบบปิดมนุษยนิยมแบบปิดเหตุผลนิยมแบบเปิดมนุษยนิยมแบบเปิด
องค์การ (Organization) - Administrative Theory  - Contingency Management- BSC
 - Bureaucracy  - EVA- Core Competency
 - 5ส  - MTEF- CRM
   - Quantitative Approach- KM
   - Strategic Planning- LO
   - PMQA
   - SCM
   - TQM
   - Six Sigma
กลุ่ม (Group )  - School of Human Resources - Activity-based costing- BSC
   - E-Procurement- Core Competency
   - E-Learning
   - KM
   - OL
ปัจเจกบุคคล (Individual) - Scientific Management - School of Human Resources - BSC
  - School of Human Resources Relations - Core Competency
  - Motivation Theories - E-Learning
  - Theory X and Theory Y - KM
   - OL
ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงองค์กร (Organizational Change)  3 ขั้นตอน คือ
1. การละลายพฤติกรรมเดิม (Unfreezing)
2. การเปลี่ยนแปลง (Change)
3. การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน (Refreezing) 
การตัดสินใจนำเครื่องมือการจัดการมาใช้ ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ 4 ขั้นตอน คือ
1. การสร้างความรู้
2. การประมวลความรู้ 
3. การประยุกต์ใช้ความรู้
4. การเผยแพร่ความรู้มาใช้
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการนำเครื่องมือทางการบริหารเพื่อพัฒนาองค์การที่ยั่งยืน
Bitmap
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาองค์การ
(1) ความรู้ความเข้าใจของทีมงาน 
 1.1. ผู้บริหารเป็นแกนหลักในการผลักดันการนำเครื่องมือการจัดการมาใช้ และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันของทีม
 1.2. หากลุ่มแกนนำเพื่อช่วยการติดต่อสื่อสารระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติเป็นไปด้วยดี 
 1.3. องค์การภาครัฐควรมีทีมงานหรือกลุ่มที่ช่วยผลักดันทีมงานให้เกิดองค์ความรู้
(2) บทบาทผู้บริหาร ผู้บริหารจะมีบทบาทในการสร้างและประยุกต์ความรู้
 2.1.ส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ได้ศึกษาอบรมหลักสูตรใหม่ๆและสามารถชักจูงผลักดันให้มีการใช้เครื่องมือการจัดการได้อย่างมีกลยุทธ์
 2.2. ผู้บริหารเข้าใจและแสดงบทบาทของตนเองในการกระตุ้นส่งเสริมให้มีการนำเครื่องมือการจัดการมาใช้ในองค์การ
(3) ความสอดคล้องของเครื่องมือการจัดการกับกลยุทธ์ 
 3.1. คำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ขององค์การ 
 3.2. การเปลี่ยนแปลงยิ่งเร็วมากเพียงใด ก็จำเป็นต้องสื่อสารมากขึ้นเท่านั้น 
 3.3. การเลือกใช้กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของโลก
(4) วัฒนธรรมองค์การ การนำเครื่องมือการจัดการมาใช้จะต้องคำนึงถึง
 4.1. ความสมดุลของวัฒนธรรมองค์กร (หากต้องการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่ต้องนำเครื่องมือที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรมาใช้)
 4.2. ผู้นำในการนำเครื่องมือการจัดการมาใช้และการสร้างความร่วมมือของทีม
 4.3. ธรรมาภิบาล 
ข้อมูลสถิติการใช้เครื่องมือการบริหารของประเทศไทยปี 2549
Bitmap
เครื่องมือการวัดด้านต่าง ๆ จาก Thailand Quality Awards
เครื่องมือการวัดที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติhttp://www.tqa.or.th/th/node/340
1. ISO (International Organization for Standardization)
2. HA (Hospital Accreditation)
3. BSC (Balanced Scorecard)
4. KM (Knowledge Management)
5. Benchmarking
6. TQM (Total Quality Management)
7. TPM (Total Productive Maintenance)
8. 6 Sigma
9. GMP (Good Manufacturing Practice)
10. KPI (Key Performance Indicator)
11. COQ  (Cost of Quality)
Bitmap Bitmap
ข้อมูลที่น่าสนใจ
http://www.tqa.or.th/th/node/1545
http://www.tqa.or.th/th/node/1548
http://www.tqa.or.th/th/node/724

1 ความคิดเห็น:

  1. รูปภาพประกอบ Load ได้ไม่ครบ นักศึกษาสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Sky Drive Flle Excel ชื่อเดียวกันนะคะ

    ตอบลบ