5.02.2555

Organizational Profile: Organizational Situation



Organizational Profile: P.2 Organizational Situation
Organizational Profile: P.2 Organizational Situation: 2012 Baldrige Criteria for Performance Excellence
11 BN P.2

2012 Baldrige Criteria . . . now in two flavors
 Baldrige Criteria                   Baldrige Articulated Criteria 15P2
  Original                                   Articulated
2012 Baldrige ARTICULATED Criteria . . . now approved for use by more than 20 national quality awards
(ARTICULATED = Improved understanding + More efficient = More practical)


2012 Baldrige Criteria Navigator
Click on the Criteria Navigator below to see all the additions and deletions - here at B21 and only here

P
Preface: Organizational Profile


Category and Items
Point Values
1
Leadership
120

  70

  50
2
Strategic Planning
85

  40

  45
3
Customer Focus
85

  45

  40
4
Measurement, Analysis, and Knowledge Management
90

  45

  45
5
Workforce Focus
85

  40

  45
6
Operations Focus
85

  45

  40
7
Results
450

120

  90

  80

  80

  80


TOTAL POINTS
1,000

Thank you for using and hopefully sharing the only truly integrated versions of the Baldrige Criteria. Paul Steel

.
Baldrige Criteria Response Template Mini



Baldrige Excellence Resources 





Information provided on www.Baldrige21.com is not intended  to represent the views of the Baldrige Performance Excellence Program @ http://www.nist.gov/baldrige

2012 Baldrige Criteria Organizational Profile Organizational Situation

การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามักมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดในสิ่งต่อไปนี้


กระบวนการบริหาร (การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา)

  ปัจจัยส่งผลเมื่อมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงระบบใดๆ ในองค์การ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่่นในองค์การเสมอ มีผู้กล่าวว่าประสิทธิภาพของงานจะมุ่งตรงไปสู่ถนนที่ตัดผ่านการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามักมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดในสิ่งต่อไปนี้
1. เกิดบทบาทและเป้าหมายใหม่ขึ้นในองค์การ
2. การประเมินค่าของคนในองค์การสูงขึ้น
3. การวินิจฉัยสถานการณ์จะได้มาจากการสังเกตจากคนหลายกลุ่ม
4. เกิดการแสวงหาการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
5. เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 
6. คนทุกคนในองค์การสามารถระบายความทุกข์ร้อนใจได้
7. เกิดประสบการณ์ใหม่ขึ้น 
8. มีการประกาศเป้าหมายใหม่
9. เริ่มมีการวางแผนเป็นระยะๆ
10.สมาชิกเริ่มรู้ตัวเองว่ามีอะไรบ้างที่ตนยังไม่รู้ 
11.ตัดสินใจร่วมกันและสำนึกดีว่า ต้องทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ทำงานบนคน 
12.พบเป้าหมายที่เป็นจริง แต่ละคนมีความเสี่ยงมากขึ้น 
13.สามารถลบล้างระบบเก่า (Unfreezing) กลายเป็นเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้้น

สรุป

องค์การจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลงานใหม่ การให้บริการระบบใหม่ ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง อาทิ สภาพแวดล้อมทั่วไป การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคม ผู้บริหารจึงควรจะต้องแสวงหาความคิดใหม่ๆ องค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาองค์การต่อไปให้ประสบผลสำเร็จ

5.01.2555

ไปดูรายได้ของผู้บริหารกัน...ตัวอย่างจาก 50 บริษัท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 'สูงที่สุด' ในตลาดหุ้น




ไปดูรายได้ของผู้บริหา รกัน


50 บริษัท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 'สูงที่สุด' ในตลาดหุ้น
ในยุคนี้การเขยิบตัวขึ้นๆลงๆของ "เงินเดือน" รวมถึงนโยบายการให้ผลตอบแทนของทุกๆบริษัท ถือเป็นเรื่องสำคัญทั้งกับบุคคลภายในและบุคคลภายนอกเพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ดึงดูดให้พนักงานทำงาน และยังแสดงถึงความมั่นคงในบริษัทนั้นๆอีกด้วย
แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ยังคงเป็นเหมือนความลับที่ไม่มีวันเปิดเผยง่ายๆ เพราะเรื่องของเงินเดือนเป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ที่อาจจะกระทบต่อการทำงานการปกครองในองค์กร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเดือนของผู้บริหาร !!!
แต่หลายคนคงอยากรู้ว่าภายในงบของบริษัท รายได้ที่ถูกจัดแบ่งเอาไว้ให้บรรดา "นายๆ" ของพวกเราจะสักประมาณเท่าไรกัน
"ทายาท ศรีปลั่ง" กรรมการผู้จัดการ "บริษัทวัตสัน วายแอต (ประเทศไทย)" ที่ปรึกษาทางด้าน HR หรือที่ปรึกษาระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบุว่า การจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหารที่ใช้เป็นมาตรฐานสากลทั่วโลกจะแบ่งออกเป็น 4 แบบ นั่นก็คือ
เงินเดือน (Basic Salary) ซึ่งก็คือ เงินเดือนประจำ ที่เราๆ ท่านๆ ได้รับการจ่ายเข้าบัญชีกันเป็นประจำทุกสิ้นเดือน
โบนัสประจำปี (Annual Bonus) คือ รายได้เพิ่มเสริมที่จะจ่ายให้ โดยใช้ผลประกอบการตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ว่า "ผู้บริหารไปถึงดวงดาว" หรือ "เป้าหมายของบริษัทที่ตั้งเอาไว้" หรือไม่ในปีนี้
แผนการกระตุ้นระยะยาว (Longterm Incentive) เช่น การเสนอหุ้นให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งแผนการกระตุ้นระยะยาวนี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับผู้บริหารในไทยอีกด้วย
สิทธิพิเศษเฉพาะตัว (Perquisition หรือ PERKS) คือ สิทธิเฉพาะส่วนบุคคล ที่ผู้บริหาร จะได้รับ เช่น รถประจำตำแหน่ง เครื่องบินส่วนตัว อุปกรณ์สื่อสารชั้นเยี่ยม ฯลฯ
เหตุที่ผลตอบแทนแก่ผู้บริหารต้องมีความหลากหลาย อยู่ในอัตราสูงๆ ก็เพราะเชื่อว่าจะเป็นแรงจูงใจหลัก ทำให้มืออาชีพได้ทุ่มเทพลัง แรงกายแรงใจ เพื่อสร้างให้บริษัทเติบใหญ่ หรือยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจได้
ตลอดจนเพื่อ "รักษา" มือดีเอาไว้ และเป็นการป้องกันการ "ทุ่มซื้อตัว" ของเจ้าบุญทุ่มทั้งหลาย
กรณีการ "ซื้อตัว" นักฟุตบอลในประเทศอังกฤษ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปลี่ยนย้ายสังกัด เพราะถ้าหากผู้ที่มีศักยภาพและความสามารถไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ดึงดูดพอ คู่แข่งอาจจะใช้จุดนี้มาแย่งตัวไปจากทีม
ทั้งนี้จากการสำรวจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นของ "กรุงเทพธุรกิจ" พบว่าแต่ละองค์กรจะจ่ายผลตอบแทน (เงินเดือน โบนัส เงินพิเศษ วอร์แรนท์ และสวัสดิการ) แก่ผู้บริหารในอัตราที่น่าสนใจ
"เทเลคอมเอเซีย" (TA) เป็นบริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหาร "สูงที่สุด" ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันทุกปี
ผู้บริหารระดับสูงสุด 5 คนแรกของทีเอ ได้แก่ "ศุภชัย เจียรวนนท์" "วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์" "ชัชวาล เจียรวนนท์" "อธึก อัศวานันท์" และ "วิลเลี่ยม อี แฮริส" ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 1,700,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 20.37 ล้านบาทต่อปี
ไม่รวมวอร์แรนท์ฟรีที่ออกให้กับผู้บริหาร และไม่รวมรถยุโรปประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ
ในขณะที่บริษัทสื่อสารอันดับหนึ่งของประเทศ "แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส" (ADVANC) ซึ่งปีที่แล้วทำกำไรปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารสูงเป็นอันดับที่ 9 ของตลาด
ผู้บริหารระดับสูงสุด 4 คนแรก ได้แก่ "ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์" "ศิริเพ็ญ สีตสุวรรณ" "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และ "เชา วิง เคียง ลูคัส" ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 670,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 8 ล้านบาทต่อปี บวกกับวอร์แรนท์ฟรีให้กับผู้บริหาร
ทางด้านบริษัทดัง "ชิน คอร์ปอเรชั่น" (SHIN) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเครือ ผู้บริหารระดับสูงสุด 6 คนแรก นำทีมโดย "บุญคลี ปลั่งศิริ" ประธานกรรมการบริหาร ได้รับค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 760,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 9.16 ล้านบาทต่อปี และได้รับวอร์แรนท์ฟรีอีกจำนวนหนึ่ง
โดยบุญคลี ได้รับวอร์แรนท์จำนวนมากที่สุด 12.42 ล้านหน่วย หรือ 42.85% ขณะที่ผู้บริหารอีก 5 คนได้รับลดหลั่นกันลงไป
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้บริหารของค่ายชินคอร์ปนั้น ทางกลุ่มระบุว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของแต่ละบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน
ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนที่นำโดยดร.ไพบูลย์ ลิมปพยอม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอีก 2 คนได้แก่ บุญคลี ปลั่งศิริ และอรุณ เชิดบุญชาติ เป็นผู้กำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่ผู้บริหารเหล่านั้น
ในบรรดาบริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงสุด 5 อันดับแรกของตลาดหลักทรัพย์ ยังมีบริษัทในกลุ่มปูนซีเมนต์ติดเข้ามาถึง 3 อันดับด้วยกัน
บริษัทแรกที่จ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารสูงที่สุด คือ "ปูนซีเมนต์นครหลวง" (SCCC) หรือ "ปูนกลาง" ผู้บริหารระดับสูงสุดของบริษัท 7 คน นำโดย "วินเซนต์ บิเชต์" ประธานคณะผู้บริหาร ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 1,010,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 12.16 ล้านบาทต่อปี
ขณะที่ยักษ์ใหญ่อย่าง "ปูนซิเมนต์ไทย" (SCC) หรือ "ปูนใหญ่" ยังจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารในอันดับรองลงมา โดยบริษัทจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้บริหารสูงสุด 10 คนแรก ซึ่งนำทีมโดย "ชุมพล ณ ลำเลียง" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในรูปของเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นที่เป็นตัวเงินรวมกัน 117.26 ล้านบาท เฉลี่ยรายได้คนละ 11.73 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 980,000 บาทต่อเดือน
ส่วนคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับค่าเหนื่อยสูงที่สุด คือ "เชาวน์ ณ ศีลวันต์" ประธานกรรมการเครือซีเมนต์ไทย ซึ่งได้รับโบนัสประจำปีจำนวน 1.44 ล้านบาท และได้รับค่าตอบแทนประจำปีอีกจำนวน 1.29 ล้านบาท
บริษัทที่กำลังเป็นข่าวครึกโครมในขณะนี้ "ทีพีไอ" หรือ "บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย" (TPI) ก็จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารระดับสูงหนักไม่แพ้ปูนกลาง และปูนใหญ่
ผู้บริหารระดับสูง 4 คนแรกที่เพิ่งถูกปลดไปเมื่อเร็วๆนี้ ได้แก่ "ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ผู้จัดการใหญ่ "สมิทธิ์ เทียมประเสริฐ" "พิชา ดำรงพิวัฒน์ และ "วชิรพันธุ์ พรหมประเสริฐ" ได้ค่าตอบแทนรวมกัน 44.80 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 11.20 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 930,000 บาทต่อเดือน
บริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงติดเข้ามาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ซึ่งโดดออกมาจากบริษัทในกลุ่มสิ่งพิมพ์อื่น ก็คือ "เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป" (NMG) ในปี 2545 ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจำนวน 7 คน นำโดย "ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ และ "สุทธิชัย หยุ่น" ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนในฐานะพนักงานบริษัทและโบนัสรวม 72.40 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 10.34 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 860,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ทั้ง 7 คนยังได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมกันอีกจำนวน 3.36 ล้านบาท
บริษัทกู๊ดเยียร์ (GYT) เป็นบริษัทที่ 10 ที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหารระดับสูง 6 คน ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือน และโบนัสรวม 46.21 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 7.70 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 640,000 บาทต่อเดือน