6.29.2555

คำบรยายลักษณะงาน

                คำบรรยายลักษณะงานที่ดีควรจะมีลักษณะ 4 C คือ มีความถูกต้อง (Correct) ความชัดเจน (Clear) รัดกุม (Concise) และสมบูรณ์ (Complete) ซึ่งมีหลักการเขียน ดังนี้   1. ความถูกต้อง (Correct)                 ต้องไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ในเรื่องความถูกต้องจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้เขียน ผู้รับรอง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง   2. ความชัดเจน (Clear)                 สามารถเขียนให้เข้าใจหน้าที่ความรับผิดชอบได้โดยแจ่มแจ้ง ชัดเจน ปราศจากข้อสงสัย หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำคำถามไม่สื่อความหมาย เช่น ยากมากค่อนข้างมาก เป็นต้น ต้องพยายามชี้แจงให้ได้ว่าประกอบด้วยอะไร ยากหรือง่ายอย่างไรเนื่องจากอะไร ถ้าจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำทางวิชาการ ควรมีคำอธิบายให้เข้าใจ หรือยกตัวอย่างที่จำเป็นเป็นข้อความที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างหรือลักษณะงานที่เป็นหลักของตำแหน่ง   3. รัดกุม (Concise)                 การบรรยายเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของงานอย่างละเอียดชัดเจนในหลักการข้างต้น ต้องไม่ใช่การอธิบายเกินความเป็นจริง แต่หมายถึงการบรรยายงานในลักษณะที่สั้นและเข้าใจง่าย ทุกถ้อยคำมีความหมายไม่อธิบายอย่างวกวน   4. สมบูรณ์ (Complete)                 การบรรยายลักษณะงานจะต้องครอบคลุมงานทุกด้านในตำแหน่งนั้น ทั้งงานประจำและงานที่ปฏิบัติเป็นครั้งคราว โดยเรียงลำดับตั้งแต่งานหลัก งานรองโดยบรรยายตามกระบวนการปฏิบัติของงานแต่ละงาน   5. ลักษณะของประโยคที่เขียนบรรยายหน้าที่และความรับผิดชอบ                 ไม่ควรเขียนยืดยาว ควรเขียนให้สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ โดยยึดหลักเกี่ยวกับการเขียนรูปประโยคของภารกิจของงาน คือ คำกริยา กรรม ผลของการกระทำ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ หรือแนวทางในการทำงาน การเขียนควรเริ่มต้นด้วยคำกิริยา ซึ่งแสดงการกระทำโดยตรง และพึงหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่ไม่มีความหมาย หรือเป็นคำซ้ำ   6. รูปแบบการบรรยายอาจเป็นทั้งเขียนบรรยายแบบย่อหน้าหรือเขียนเป็นหัวข้อก็ได้                 แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนแยกเป็นหัวข้อ ทำให้เห็นหน้าที่ต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น   7. ไม่ควรใช้ถ้อยคำกำกวม                 ตีความหมายได้หลายนัย ถ้อยคำที่มีความหมายหลายนัยพึงหลีกเลี่ยง คำเหล่านี้ “จัดการ”  “ประสานงาน”  “ช่วยเหลือ”   “เตรียม”  “ดำเนินการ”  “จัดเตรียม” เป็นต้น แต่หากจำเป็นต้องใช้ควรอธิบายขยายความเพิ่มเติมให้ชัดเจน   8. ถ้อยคำที่ใช้ไม่ควรเป็นคำศัพท์เทคนิคทางวิชาการมากเกินไป                 หากจำเป็นต้องใช้ควรอธิบายไว้ด้วย   9. ควรใช้ถ้อยคำที่เฉพาะเจาะจง                 หากระบุเป็นเชิงปริมาณได้ควรระบุไว้ ควรหลีกเลี่ยงคำที่เป็นนามธรรม   10. ควรเขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจ                 มิใช่เพื่อประทับใจ   11. คำทุกคำควรจะมีความหมาย                 เป็นคำที่ใช้บรรยายที่จะนำไปสู่การทำงานให้ประสบผลสำเร็จ       ที่มาจาก : การวิเคราะห์งาน โดย สุภาพร พิศาลบุตร

6.28.2555

ทบ.การบริหารทรัพยากรมนุษย์

ทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ทฤษฎีการสร้างแจงจูงใจ     ทฤษฎี ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์   ทฤษฎี 2 ปัจจัย ทฤษฎี X และทฤษฎี Y           ทฤษฎีการสร้างแจงจูงใจ     การสร้างแจงจูงใจ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นแรงจูงใจมากระตุ้นความรู้สึกของมนุษย์ให้แสดงออกด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างมีทิศทาง เพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเงื่อนไขที่ต้องการ ซึ่งอาจจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่อยากทำ หรืออดกลั้น แรงจูงใจ จึงหมายถึง แรงผลักดันที่มุ่งให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเกิน การเคลื่อนไหวของร่างกายให้กระทำกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการตอบสนองความต้องการนั้น แรงจูงใจจึงอาจจะเกิดขึ้น จากการกระทำให้เกิดความต้องการ (ความอยาก) โดยมีผู้กระทำ และเกิดขึ้นจากการตระหนักรู้ สัญชาตญาณที่มีมาแต่กำเนิด แหล่งที่เกิดแรงจูงใจ แรงจูงใจที่เกิดจากแหล่งภายนอก.. เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากปัจจัยภายนอก มากระตุ้นให้เป็นสิ่งเร้า ให้บุคคลแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ การจูงใจภายนอกนี้อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด แรงจูงใจทางบวก เป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมฮึกเหิมเพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จ ตามแรงที่มากระตุ้น แรงจูงใจทางลบ แรงจูงใจประเภทนี้ตรงข้ามกับข้อแรก จะเป็นแรงจูงใจด้วยการถูกลงโทษ ถ้าหากไม่ปฏิบัติงานให้ได้ผลสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมาย แรงจูงใจที่มีแหล่งเกิดจากภายใน..เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการมองเห็นคุณค่า หรือโอกาสของตนเอง หรือการมีจิตสำนึกด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใด มากระตุ้นให้เกิดความต้องการ แรงจูงใดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ.. แรงจูงใจธรรมชาติมนุษย์ เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดความต้องการ จำแนกได้ 3 ประเภท แรงจูงใจทางสรีรวิทยา แรงจูงใจทางจิตวิทยา แรงจูงใจที่เกิดทางสังคม แรงจูงใจในการทำงาน.. เป็นเสมือนแรงขับที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะพนักงาน ได้แสดงพฤติกรรมการทำงาน ในทางที่ถูกต้องและเป็นไปตามที่ องค์การคาดหวังไว้ ทฤษฎี ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์   เป็นทฤษฎีที่วิเคราะห์จากสภาพความเป็นจริง ของการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ความต้องการของมนุษย์นั้น มักจะเริ่มต้นจากขั้นต่ำเป็นลำดับแรก เช่น ความต้องการ ปัจจัย 4 ความต้องการของมนุษย์มักจะมีลักษณะเป็นขั้นบันได คือจะเริ่มจากความต้องการระดับล่างสุด แล้วค่อย ๆไต่ขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น เมื่อความต้องการระดับดังกล่าวได้รับการตอบสนองแล้ว เรียกว่า บันไดความต้องการ 5 ขั้น ขั้นที่ 1.. ความต้องการทางด้านกายภาพ เป็นแนวความคิดด้านความต้องการที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์จะขาดแคลนไม่ได้ ได้แก่ ความต้องการปัจจัย 4 และการทำให้มนุษย์มีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ การพักผ่อนและการสืบพันธุ์ และกิจกรรมอื่น ๆ ถ้าหากมนุษย์ยังขาดสิ่งเหล่านี้ความต้องการ ระดับอื่นก็ยังไม่เกินขึ้น ขั้นที่ 2.. ความต้องการความปลอดภัย เป็นความต้องการในระดับที่สูงขึ้นจากขั้นต้น ได้แก่ ความต้องการความมั่นคง ในตำแหน่งหน้าที่การงานที่กำลังทำอยู่ ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย เมื่อใดที่พนักงานได้รับคำมั่นสัญญา หรือหลักประกันในความต้องการดังกล่าวนี้ ก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน ความต้องการขั้นนี้จะมีลักษณะ ของความเป็นนามธรรมมากขึ้น เป็นระดับความต้องการ ที่สูงขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่องค์การ ต้องมอบให้แก่พนักงาน ขั้นที่ 3.. ความต้องการด้านสังคม สังคมภายในองค์การจะมีลักษณะ ความเป็นกลุ่มคนที่มีการปฏิบัติงานเป็นทีมงาน ดังนั้นพนักงานทุกคนต้องการจะมีบทบาท ในการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่งาน ที่ได้รับมอบหมาย เป็นบุคคลที่ทุกคนยอบรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน หลักข้อนี้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ผู้บริหารอาจจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุน ให้พนักงานทุกคนมีบทบาท ในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ ขั้นที่ 4.. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง หรือความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ มีคุณค่า สำหรับสังคม ได้แก่ ความยากเด่นยากดัง ความยากให้บุคคลอื่นยกย่องเชิดชู พฤติกรรมที่บุคคล ต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง ก็มักจะสร้างผลงานในด้านต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น ขั้นที่ 5.. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต หมายถึง ความต้องการในขั้นสูงกว่าทุกขั้น ที่กล่าวมาแล้ว เป็นความต้องการที่จะสร้างผลงาน ให้เป็นที่ยอมรับด้วยความรู้ความสามารถ ของตนเอง เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยสติปัญญา มีความมุ่งมั่นสู่ความท้าทายผลสำเร็จ ในหน้าที่การงานด้วยผลงาน ที่มีคุณค่าเป็นผลดีต่อสังคมและมวลชน เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องพิจารณา หาหนทางให้พนักงานขององค์การ ได้รับการตอบสนอง ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีความพยายาม ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อผลสำเร็จในเป้าหมาย ที่องค์การกำหนด           ทฤษฎี 2 ปัจจัย     ปัจจัยการกระตุ้น ... เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับการเร่งเร้า หรือกระตุ้นแรงจูงใจให้พนักงาน มีกำลังใจ และความพึงพอใจที่จะปฏิบัติงาน จนเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับที่มี คุณภาพงาน ได้แก่ ความภูมิใจต่อการเกิดผลสัมฤทธิ์ ในการปฏิบัติงาน การได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน ปัจจัยค้ำจุนหรือการบำรุงรักษา... เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ ป้องกันปัญหาที่พนักงาน อาจเกิดความไม่พอใจ การปฏิบัติงานที่เกิดจากสภาพการทำงาน เช่น ระบบงานภายในองค์การ การบังคับบัญชา การจ่ายค่าตอบแทนที่ขาดความยุติธรรม และไม่เหมาะสม นโยบายการบริหารงานที่ไม่ชัดเจน หรือไม่แน่นอน ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นต้นเหตุการณ์ ดำรงอยู่หรือการเกิดสมองไกลของพนักงาน ที่มีศักยภาพการปฏิบัติงานสูง   ทฤษฎี X และทฤษฎี Y       ทฤษฎีเอ็กซ์ เป็นการแสดงทัศนะสมมุติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ว่ามักจะมีพฤติกรรมเป็นทางลบ ดังนี้ มีความเชื่อว่าไม่ชอบการทำงาน จึงมีการหลีกเลี่ยงงานเป็นประจำ มักขาดความทะเยอทะยาน ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ สนใจต่อผลได้เสียขององค์การ มีพฤติกรรมต่อต้าน การเปลี่ยนแปลง ชอบเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารที่จะต้องกำกับดูแลพนักงาน ประเภทนี้อย่างใกล้ชิด ใช้เทคนิคการบริหาร ควรจะประกอบด้วยพฤติกรรม ดังต่อไปนี้ ผู้บริหารอาจมีท่าทีที่แข็งกร้าว มีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดในทุกด้าน ผู้บริหารต้องมีท่าทีที่เด็ดขาด แต่แฝงด้วยความยุติธรรม บางครั้งแก้ไขปัญหาโดย ละมุนละม่อม อาจจะทำให้การทำงานไม่ได้ผล ผู้บริหารต้องใช้ความรุนแรงบ้าง ในบางโอกาส ทฤษฎีวาย ทฤษฎีนี้จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม ของมนุษย์ด้านบวก ที่ตรงกันข้ามกับทฤษฎีเอ็กซ์ ธรรมชาติของมนุษย์มักจะมีพฤติกรรมที่ดีคือ การให้ความร่วมมือ สนับสนุน และมีความขยันหมั่นเพียรเป็นที่ตั้ง ดังนั้นพฤติกรรมของผู้บริหาร มักจะมีลักษณะ ดังนี้ ให้อิสระในการทำงาน และให้มีส่วนร่วมในการทำงาน เช่น การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และว่างแผนการปฏิบัติงาน ให้หลักการจูงใจ มากกว่าวิธีการขู่เข็ญบังคับ เช่น การยกย่องชมเชย เพื่อให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน ให้การเสริมแรงบวก ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การให้ทำงานด้าน ที่มีความสำคัญต่อองค์การ ให้อิสระในการปฏิบัติงาน การมอบรางวัลตอบแทน ตามความเหมาะสม

6.08.2555

การบริหารความเปลี่ยนแปลง

               ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไร้พรมแดน ส่งผลให้โลกแคบลง เทคโนโลยี และความรู้ทาง วิทยาการใหม่ๆเกิดขึ้น        และถูกส่งต่อไปทั่วโลกอย่างไร้ขีดจำกัดผ่านช่องทาง อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีและ การรับรู้อย่างรวดเร็วเหล่าส่งผลในด้านความ        เป็นส่วนตัวน้อยลง ความผิดพลาดในอดีตที่ถูกเก็บเอาไว้ เป็นความลับได้รับการเปิดเผยมากขึ้น ความโปร่งใส จริยธรรม ถูกตั้ง        เป็นประเด็นอย่างเข้มข้นในการ บริหารงานองค์กรในทุกวันนี้        อย่างไรก็ตาม ความสำคัญตกอยู่ที่ผู้นำองค์กร ได้แก่ กรรมการบริษัทซึ่งเป็น ผู้กำหนด นโยบาย และ CEO ผู้วางกลยุทธ์ในการ        ดำเนินการ จำเป็นต้องตระหนักในความเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ด้วย และต้องปรับ ตัวให้ทันยุค เพราะทุกวันนี้หมดยุคเถ้าแก่เป็น        จอมบงการหรือ อัศวินม้าขาว แล้ว อีกทั้งกฎหมายเกี่ยวกับ สังคมก็รุนแรงมากขึ้นในการคุ้มครองความปลอดภัย และสวัสดิภาพ        ของผู้บริโภค         ผู้นำยุคเก่า มีสถานะเป็นแบบเถ้าแก่ ใช้อำนาจตัดสินในทุกเรื่อง ไม่มีการกระจายอำนาจ เข้าไปยุ่งทุก เรื่องจนลูกน้องเกร็งไม่ต้อง         ทำอะไร อิงสามัญสำนึกของผู้นำอย่างเดียว ขาดการฟัง ความคิดเห็นของลูกน้อง อาศัยโชคชะตาและหมอดูเข้าช่วย ความสำเร็จ         เกิดขึ้นก็ภูมิใจจนเคลิ้ม พอล้มเหลวก็โทษโชคชะตาหรือ คนอื่นทำให้เกิด ไม่มีการวางแผนและคำนวณผลลัพธ์ล่วงหน้า อย่างดี         บางคนทำธุรกิจตามใจชอบเหมือน เลือกเบอร์แทงหวย ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ที่จะได้เป็นที่ตั้ง บ้างก็เอาเปรียบลูกค้า         ยังไม่พอ หัน มาเอาเปรียบพนักงานด้วยเพื่อกอบโกยความร่ำรวย ชอบใช้สินบนกับผู้มีอำนาจ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้         เห็นได้ดาษดื่นทั่วไปในบ้านเมืองเราไม่เว้นแม้แต่ผู้นำ ประเทศที่ร่ำรวยเงินทองมาจากสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งการฉวยโอกาสร่ำรวย         จากการลดค่าเงินบาท อย่างไร้ยางอาย แต่กลับอ้างตนเป็นผู้นำยุคใหม่ (น่าจะเป็นผู้นำแบบเก่าที่เคลือบตัวแบบใหม่) ส่วนเถ้าแก่         ที่ประสพความสำเร็จมากก็มี หากถ้า มองลึกลง ไปในความสำเร็จของคนเหล่านั้น มักพบว่า ความเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมและไม่เอา         รัด เอาเปรียบผู้คน ลูกค้า รักและมีน้ำใจกับลูกน้อง ไม่ทอดทิ้งยามลำบาก ล้วนมีในคนเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ ในธุรกิจ         แบบยั่งยืนไปได้หลายรุ่นจนถึงปัจจุบัน             อย่างไรก็ดี แนวทางการบริหารในโลกที่ไร้พรมแดน ที่มีความเปลี่ยนแปลงและเข้าถึงอย่าง รวดเร็ว รวมทั้งการแข่งขันที่ดุเดือด         รุนแรง ผู้นำในยุคใหม่จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ ตามให้ทัน และปรับตัว ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้           ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ต้องเริ่มที่          1. เปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลง              มองโลกของการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และยอมรับว่าต้องเกิด ไม่มีอะไรมาหยุด ธรรมชาตินี้ได้ เรา ต้องหาวิธีปรับตัวอยู่              กับความเปลี่ยนแปลงนี้ให้ได้อย่างไร              ลดการยึดติด ไม่หลงใหลกับความคิดเห็นตนเองแต่ฝ่ายเดียว ไม่หลงปลื้มกับความ สำเร็จในอดีต จนมากเกินไป ขอให้              เป็นแค่รางวัลที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมาส่วนอนาคต คงเป็นความหวังใหม่ที่ต้อง สร้างต่อไป              เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงด้วยใจที่เป็นธรรม เปิดกว้าง รับฟัง เป็นกลาง ไม่จับผิดโดย เอาความคิ เห็นตนเป็นที่ตั้ง ติดตาม               ข่าวสารอยู่เสมอ รู้จักเลือกสิ่งที่ดีมีประโยชน์เหมาะสม มาใช้ สิ่งที่คิดว่าไม่ดี ไม่เหมาะ เก็บเอาไว้เป็นความรู้              ข่าวหรือบทความทางสื่อที่มีมากมายทุกวันนี้เป็นแหล่งเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น             เป็นอย่างดีสามารถนำมาวิเคราะห์ เทียบเคียงกับเราได้              มองข่าวทุกชิ้น หรือบทความของทุกคนด้วยใจเป็นกลาง ไม่เอาบรรทัดฐานตนไปจับผิด ว่าดีหรือเลว ไม่ว่าทั้งดี หรือเลวล้วน               เป็นแหล่งความรู้ให้เราเลือกรับมาปฏิบัติทั้งนั้น          2. เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆที่เป็นช่องติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก             ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรมทำงานของ Office เป็นอย่างน้อย เพราะงาน               บางอย่างผู้นำไม่สามารถใช้ผู้อื่นทำแทนได้โดยเฉพาะในการประมวลข้อมูล ที่สำคัญและไม่สามารถเปิดเผยได้ทั่วไป            ผู้นำต้องเรียนรู้เรื่องราวทั่วโลกผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาคู่แข่ง เปรียบเทียบ หาตลาด คู่ค้า ขายสินค้ารวมถึงการ               ซื้อวัตถุดิบก็ตาม จึงจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้ Internet เป็นช่องทางติดต่อ กับโลกภายนอก          3. มีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาสากล              นอกจากภาษาไทยแล้ว การเรียนรู้ภาษาของโลก คือ ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งจำเป็น ในการบริหารยุค ใหม่ เพราะเป็นภาษา               สากลที่ใช้สื่อสารทั่วโลก อีกทั้งเป็นภาษาที่ใช้ใน อินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ส่วนภาษจีน ญี่ปุ่น ก็ถือว่ามีความสำคัญเช่นกันความ               สามารถใน การสื่อสารนับเป็นเครื่องมือติดต่อกับโลก และถือเป็น ความ ได้เปรียบในการแข่งขัน          4. ศึกษากฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่สังคมกำหนด          กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิของผู้บริโภค รวมไปถึง มูลนิธิ องค์กร NGO ซึ่งนับ วันจะเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลกระทบ              ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อองค์กรในสังคมยุคนี้ และภายหน้า การกำหนดวิถีของ องค์กรจำเป็นที่ผู้นำต้องติดตามความเป็นไป               ของปัจจัย ที่ส่งผลกระทบเหล่านี้ให้เข้าใจโดยไม่ไปกำหนดนโยบายปฏิบัติที่ขัดแย้ง หรือไม่เป็นธรรม หรือเป็นการละเมิดผู้อื่น               กฎหมายแรงงานก็มีส่วนสำคัญที่ผู้นำ ต้องเข้าใจสร้างกลไกบริหาร ให้สอดคล้องหรือดีกว่า ไม่ฝ่าฝืนและเอาเปรียบแรงงาน          5. ปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันต่อสถานการณ์ผ่านกระบวนการสั่งการที่รวดเร็ว           ต้องยอมรับว่าในสังคมยุคใหม่ ความสามารถในการบริหารต้องเพิ่ม มิติของเวลา(Speed) เข้ามา เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยง               ไม่ได้ ชัยชนะนอกจากความสามารถแล้วยังถูกพิสูจน์ด้วย เรื่องของเวลา คือ “ความรวดเร็ว” อีกด้วย           ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจปรับรูปแบบให้ทันต่อสถานการณ์ บนพื้นฐานความรอบรู้ และ รอบคอบ           สิ่งที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงต้องสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจ รวมถึงทุกคนในองค์กร มิฉะนั้น จะกลายเป็นอุปสรรค               ในการเปลี่ยนแปลง           ติดตามวัดผลความเปลี่ยนแปลง โดยมีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม          6. สร้างความมีส่วนร่วมและมุมมองใหม่ให้กับผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา           ระดมความคิด สร้างเป้าหมายร่วม(Common goal)           จัดอบรม นิเทศงาน เพื่อให้ทีมเข้าใจความสำคัญที่ต้องการบรรลุเป้าหมายคืออะไร           สร้างทีมและ Commitment ร่วมกัน          7. ให้ความสำคัญกับระบบธรรมาภิบาล          การจัดซื้อ จัดจ้างที่โปร่งใส มีกรรมการร่วมรับผิดชอบ         จัดระบบตรวจสอบภายในให้เข้มแข็ง สม่ำเสมอ เพราะ “คน เป็นสัตว์ประเสริฐที่ไว้ใจ           ไม่ค่อยได้”         มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า สร้างช่องทางรับคำร้องเรียนและวัดความพึงพอใจของลูกค้า         มีระบบคุณภาพรองรับ และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเป็นรูปธรรมที่           วัดได้ และมี กระบวนการติดตามปัญหาต่างๆ เชิงรุก รวมถึงปัญหาบริการ         มีความยุติธรรม และความชอบธรรม ในการประกอบธุรกิจ         มีการบริหารบุคลากรที่เป็นธรรมและไม่ฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานให้ความสำคัญกับปัญหา            แรงงาน มีการ เพิ่มศักยภาพแรงงานด้วยการจัดงบการอบรม เพิ่มพูนความสามารถของ            แรงงาน การ ยุคใหม่ได้ นำการบริหารHR มาร่วมเป็นส่วนสำคัญหลักในการกำหนดทิศทาง            ธุรกิจที่สอดคล้อง กับความสามารถ (Competency)ของคน        มีระบบตรวจสอบจริยธรรมองค์กรโดยเปิดให้มี ผู้รับผิดชอบต่อคำร้องเรียนในเรื่องต่างๆ          8. ตอบแทนสังคมในรูปแบบต่างๆ         ธุรกิจและสังคมไม่สามารถแยกจากกันได้อีกต่อไป การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย              การสร้างช่องทาง สื่อสารกับสังคมลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็นในการบริหารยุคใหม่         การกำหนดเป็นนโยบายที่จะตอบแทนสังคมถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารองค์กรแบบใหม่         มีการจัดระบบตอบแทนสังคม (CSR - Corporate Social Responsibility)ผ่านกิจกรรม              ต่างๆ หลายรูปแบบตามความเหมาะสมโดยเต็มใจจากคนทุกระดับในองค์กร           ข้อคิดการบริการยุคใหม่               1. ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเปลี่ยนแปลง               2. จริงอยู่ที่คนเราเปลี่ยนแปลงตนเองได้ยาก แต่หากเรายังเป็นคนที่มีปัญญาแห่งความ                 เป็นผู้นำ และความสามารถ ความเปลี่ยนแปลงตนเองและผู้อื่นย่อมเป็นไปได้ ไม่ช้าก็เร็ว                 ขอให้มี ความเต็มใจ ( คือมี อิทธิบาท4 ได้แก่ ฉันทะ-ความพอใจ/วิริยะ-ความเพียร/                 จิตะ-ความมุ่งมั่น /วิมังสาควา ใคร่ครวญอย่างรอบคอบ)               3. ความสามารถในการบริหาร ทำให้บริษัทเจริญรุ่งเรือง แต่ความเป็นผู้มีคุณธรรมของผู้นำ                 ทำให้ บริษัทประสบความสำเร็จยาวนานและยั่งยืน