4.08.2556

4 วิธีพัฒนาองค์กรอย่างมั่นคง


สี่วิธีง่ายๆในการพัฒนาองค์กรอย่างมั่นคง
PDF
พิมพ์
อีเมล
คอลัมน์ "คำบริหารค
ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2549


 สี่วิธีง่ายๆในการพัฒนาองค์กรอย่างมั่นคง
ปัจจุบัน มีหลายบริษัทที่ต้องปรับตัวเอง ต่อสู้เพื่อจะรักษาคุณสมบัติของความเป็นบริษัทที่ดีให้ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม หากมองกันอย่างลึกๆแล้วก็จะพบว่าการดิ้นรนนี้นำไปสู่ “สงครามทางความสามารถของคนในองค์กร” ดังนั้น ในบทความจากนิตยสาร Compensation & Benefits for Law Offices ของสหรัฐอเมริกา ฉบับเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ มีบทความที่น่าสนใจ ซึ่งมีข้อแนะนำดีๆ ที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดการขององค์กรอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มั่นคง 

บทความดังกล่าว ได้เสนอสี่เส้นทางง่ายๆที่จะปรับองค์กรของท่านให้พัฒนายิ่งขึ้นบนรากฐานที่มั่นคง ดังนี้ 

1. จัดให้ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนในองค์กรสร้างความต่อเนื่องและแผนการพัฒนาผู้นำอย่างมีกลยุทธ์ การทำแผนเพื่อสร้างความต่อเนื่องในองค์กรนี้ ยังรวมถึงการพัฒนาความสามารถของบุคลากรที่โดดเด่นและแสดงศักยภาพว่าสามารถไต่ขึ้นไปสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงได้ ดังนั้น การจัดการในระยะยาวซึ่งระบบการพัฒนาบุคคคลที่มีความสามารถนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้คนในองค์กรว่าตนจะก้าวหน้า และประสบความสำเร็จในอาชีพการงานได้ ดังนั้น หาก 
กลยุทธ์ในการพัฒนาบริษัทของท่าน ยังขาดวิสัยทัศน์การพัฒนาบุคคลระยะยาวแล้ว บริษัทของท่านก็ยังไม่สมบูรณ์นัก 

2. ยอมรับที่จะเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ (Gen Xers) มีแนวคิดการทำงานที่แน่วแน่ เพียงแต่อาจไม่ใช่อย่างเดียวกับคนรุ่นบุกเบิกเท่านั้น ดังนั้น เพื่อจะสร้างบรรยากาศการทำงานที่น่าดึงดูด และจูงใจ ท่านจึงควรจะทบทวนงานด้านการบริหาร และการพัฒนาบุคลากรที่บริษัทของท่านมีอยู่ เพื่อจะตัดสินใจได้ว่าแผนงานการพัฒนบุคคลเหล่านั้นเป็นไปเพื่อสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคในการดึงดูดใจให้คนอยากทำงานในบริษัทของท่าน ถ้าแผนงานต่างๆที่มีอยู่ในตอนนี้เป็นอุปสรรคแล้ว บริษัทของท่านก็ควรจะพุ่งเป้าหมายไปในการพัฒนา หรือสนับสนุนให้มีบรรยากาศในการทำงานที่มีความร่วมมือกันมากขึ้น มีการพัฒนาระดับให้เป็นมืออาชีพ เสริมสร้างให้มีความโปร่งใสในที่ทำงาน รวมไปถึงการให้รางวัลในผลสำเร็จต่างๆด้วย 

3. ก่อตั้งแผนกหรือแผนการรับคนเข้าทำงาน หรือการจัดการฝึกอบรมที่จะเอื้อต่อการพัฒนาองค์กร ขณะเดียวกันก็ต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กรด้วย เช่น หากบริษัทของท่านให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลาให้กับลูกค้า เช่นนี้แล้ว ท่านก็ต้องไม่ลืมที่จะมีโปรแกรมการอบรมพนักงานที่จ้างเข้ามาใหม่ โดยเน้นที่จะพูดถึงประเด็นดังกล่าว รวมทั้งใช้วัฒนธรรมในองค์กรของท่านให้เป็นข้อได้เปรียบเชิงแข่งขัน กล่าวคือ ทำให้มีความเด่นชัด และสร้างวัฒนธรรมของท่านให้โดดเด่นออกจากองค์กรที่เป็นคู่แข่งทางการค้า 

4. สิ่งสุดท้ายคือ ต้องสร้างและขาย Brand ของบริษัท บริษัทที่เล่นตามกฎกติการ สร้างกำลังใจแห่งการเรียนรู้ มีความโปร่งใสกับทุกๆคนที่ทำงานในบริษัท และให้รางวัลกับการทำงานที่ดี เหล่านี้ เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ของการจ้างงาน (Employment Brand) และการที่ท่านสามารถคงระดับภาพลักษณ์ในทางบวกเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ชื่อเสียงที่ดีของบริษัทเป็นที่โด่งดังและแพร่หลายไปยังองค์กรระดับมืออาชีพต่างๆ รวมทั้ง มหาวิทยาลัย และอื่นๆ 

สุดท้ายนี้ สิ่งสำคัญคือต้องไม่ลืมว่าปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถอาจแก้ไขได้บริษัทละครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่บริษัทควรทำเพื่อที่จะจูงใจคนให้อยากเข้ามาทำ และยังคงอยู่ในบริษัทต่อไปคือ ก็คือ ต้องเริ่มจากการศึกษาและตรวจสอบแผนงานต่างๆที่มีอยู่ของบริษัท ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ในแง่ลบให้เป็นบวก และรับเอาแผนงานใหม่ๆที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ของบริษัท ดังนี้ บุคคลต่างๆก็อยากที่จะมาร่วมงานในองค์กรของท่านอย่างแน่นอน 
 
จำนวนผู้เข้าชม: 9408

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น