|
Blog สำหรับนักศึกษารป.ม.มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เพื่อศึกษาเพิ่มเติมจากห้องเรียนและผู้ที่สนใจทั่วไป
4.22.2555
เผชิญหน้ากับความท้าทาย: แผนที่ในฐานะเป็นแบบจำลอง(Business Blueprint)
" AEC ไม่เกี่ยวกับ HR จริงหรือ? "
HR in Trend
" AEC ไม่เกี่ยวกับ HR จริงหรือ? "
เมื่อกล่าวถึง AEC (ASEAN Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะเกิด ขึ้นในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) อาจดูห่างไกลจากงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่ถ้าพูดถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 จะเห็นว่าเกี่ยวข้องกับงานของ HR อย่างแน่นอน แต่ก่อนที่ชาว HR จะเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ HR คงต้องเห็นภาพกว้างของ AEC ก่อน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คืออะไร
อาเซียน (ASEAN : Association of Southeast Asian Nations) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ คือ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม สำหรับสมาชิก 4 ประเทศคือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม จะเรียกว่า กลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นสมาชิกที่เข้ามาเพิ่มภายหลัง สมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านความมั่นคง ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ จึงได้จัดตั้งประชาคมแต่ละด้าน ดังนี้
•ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community : ASC) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกอยู่อย่างสันติสุขและมีความมั่นคง
•ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community : ASCC)มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชากรของประเทศสมาชิกมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และได้รับการพัฒนาในทุกด้าน
•ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
สำหรับ AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) นั้น ได้มีการจัดทำAEC Blueprint ซึ่งได้กำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนจนถึงปีพ.ศ. 2558 อาเซียนจะไม่เก็บภาษีสินค้ากับประเทศสมาชิก นอกจากนี้ใน AEC Blueprint ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้านหลัก ดังนี้
1.การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน ให้สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ (Skilled Labour) ได้อย่างเสรี
2.การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน เช่น กำหนดกรอบนโยบายภาษี นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค เพราะประเทศสมาชิกอาเซียนจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสมาชิกเก่าซึ่งมีฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ากลุ่มสมาชิกใหม่ (กลุ่ม CLMV)
4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจทั่วโลก ดำเนินการเพื่อประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี การสร้างเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย
นอกจากนี้ยังมีการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นในด้านต่างๆ เช่น อาเซียน + 3 (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น), อาเซียน + 6 (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เป็นต้น
จาก 4 ยุทธศาสตร์หลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กล่าวมาข้างต้น ชาว HR คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกิดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะไม่กระทบกับการทำงานของฝ่าย HR เลย แต่ผลกระทบที่มีต่อ HR ในแต่ละองค์กรจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าซีอีโอขององค์กรที่ท่านทำงานอยู่จะกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจไปในทิศทางใด ส่วน HR ก็ต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับบุคลากรให้สอดคล้องกัน HR หลายท่านต้องเหนื่อยหน่อย ถ้าพื้นฐานด้านบุคลากรไม่แข็งแรง ไม่สามารถตอบสนองทิศทางการดำเนินธุรกิจได้
ผลกระทบของ AEC ต่อเศรษฐกิจของไทย
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้สรุปผลกระทบจากการลดอัตราภาษีเป็น 0% ในปี พ.ศ. 2558 ไว้ดังนี้
•GDP ของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ คือ เพิ่มขึ้นอีก 1.75%
•มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ดังนี้
•มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 3,404.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ดังนี้
ดิฉันนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.citsonline.utcc.ac.th
ผลกระทบของ AEC ต่อการทำงานของ HR
การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีที่จะเริ่มขึ้นนั้น AEC ได้กำหนดไว้ว่าแรงงานกลุ่มนี้ต้องเป็นแรงงานฝืมือที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ซึ่งเริ่มที่ 7 สาขา คือ
1.แพทย์
2.ทันตแพทย์
3.พยาบาล
4.วิศวกรรม
5.บัญชี
6.สถาปัตยกรรม
7.การสำรวจ
นับว่าโชคดีที่เริ่มต้นด้วยการกำหนดเฉพาะกลุ่มแรงงานฝีมือใน 7 สาขาวิชาชีพเท่านั้น เพราะหากปล่อยให้เป็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเลย อาจเกิดความวุ่นวายขึ้นได้ เราลองมาจินตนาการดูว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในเวลานั้น ภาพในจินตนาการคงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เพราะ AEC อาจเพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างเมื่อใกล้ๆ ถึงวันเริ่มต้นจริงๆ ตัวอย่าง เช่น
1.ในภาพรวมของตลาดแรงงานไทย (ในมิติของคนทำงาน) คยไทยที่มีอาชีพใน 7 สาขาข้างต้น ถ้าเป็นคนเก่ง มีความพร้อมที่จะทำงานไกลบ้าน และทักษะการใช้ภาษาดีซึ่งอาจไม่ใช่ภาษา อังกฤษอย่างเดียว จะมีโอกาสหางานที่โดนใจมากขึ้นเพราะตลาดแรงงานจะใหญ่ขึ้น คนกลุ่มนี้อาจไปทำงานที่สิงคโปร์ซึ่งได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า และจะกลับบ้านเมื่อไรก็ได้ ใกล้นิดเดียว ดังนั้นการย้ายงานจะอยู่ในลักษณะระหว่างประเทศ ไม่ใช่ระหว่างองค์กรใหญ่ๆ
2.ในภาพรวมของตลาดแรงงานไทย (ในมิติขององค์กร) ในเมื่อตลาดแรงงานใหญ่ขึ้นมาก องค์กรก็มีโอกาสในการเลือกแรงงานฝีมือจาก 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้เช่นกัน ไม่ว่าจะจ้างเข้ามาทำงานในประเทศไทย (ตรงนี้ HR ต้องจัดอบรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้ามชาติ หรือ Cross – Cultural) หรือ ย้ายองค์กร/เพิ่มสาขาไปยังประเทศที่มีแรงงานฝีมือตามที่ต้องการ
3.ในภาพขององค์กรที่เห็นโอกาสทางธุรกิจ เช่น ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์, ตลาดใหญ่ขึ้นเพราะ 10 ประเทศรวมเป็นตลาดเดียว (ประชากรเกือบ 600 ล้านคน), การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ช่วยลดต้นทุนไม่ว่าจะเป็นต้นทุนแรงงาน หรือ ต้นทุนการขนส่งเพราะมีระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและถูกลง ฯลฯ แต่เมื่อองค์กรต้องการคว้าโอกาสที่เห็น กลับไม่มีคนทำงาน HR ต้องคิดวิธีการสรรหาคนที่มีคุณสมบัติตรงตามต้องการ, วิธีรักษาและพัฒนาบุคลากรไว้ล่วงหน้า เช่น การกำหนดค่าตอบแทนสำหรับคนไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศและสำหรับคนต่างประเทศที่จะมาทำงานในไทย, การปรับโครงสร้างค่าจ้างให้แข่งขันได้, การคิดรูปแบบสวัสดิการที่ตรงกับพนักงานในกลุ่มต่างๆ, การจัดอบรมและกิจกรรมเพื่อให้คนหลายเชื้อชาติทำงานร่วมกันได้, การสร้างสภาพแวดล้อมให้คนทำงานรู้สึกกระฉับกระเฉง มีบรรยากาศของการเรียนรู้ ฯลฯ การจัดโปรแกรมการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าการหาคนที่ “ใช่” เข้ามาทำงานเพราะการพัฒนาให้คนเก่งขึ้นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 – 5 ปี
4.ในภาพขององค์กรเช่นกัน แต่เป็นองค์กรที่คาดว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทาย เพราะคู่แข่งจะเข้ามาถึงในบ้าน เช่น ต้นทุนของคู่แข่งต่ำกว่า, เกิดคู่แข่งใหม่ๆ หรือ อาจสูญเสียธุรกิจให้คู่แข่ง ในสถานการณ์เช่นนี้ HR ต้องช่วยสนับสนุน CEO ในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงก่อนที่วิกฤตจะมาถึงจริงๆ เพราะเมื่อถึงเวลานั้นต้องเปลี่ยนจากการบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management) เป็นการบริหารวิกฤต (Crisis Management) แทน และต้องปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ ตั้งแต่การปรับโครงสร้างองค์กรให้เกิดความคล่องตัว การปรับกระบวนการทำงานให้กระชับขึ้น การปรับทีมงานให้เหมาะสม และการสร้างความรู้สึกร่วมที่จะพัฒนาตนเองและร่วมฝ่าฟันไปด้วยกัน สิ่งสำคัญ CEO ต้องเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ และเมื่องานสำเร็จตามแผนการปรับเปลี่ยนต้องให้รางวัล
สรุปว่าในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) อาเซียนจะเปลี่ยนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็นทั้ง “โอกาส” ที่คนไทยจะไปตักตวงผลประโยชน์ในต่างประเทศและเป็น “ความท้าทาย” ที่คนไทยต้องปรับตัวเพื่อให้แข่งขันกับต่างประเทศที่จะเข้ามาฉกฉวยโอกาสในประเทศของเราเช่นกัน เหลือเวลาอีกเพียง 4 ปีเท่านั้น คุณพร้อมแล้วหรือยังคะ?
ข้อมูลจากhttp://www.cdcthailand.com/news/HR/hr_law/2011/hr11_100.html
" AEC ไม่เกี่ยวกับ HR จริงหรือ? "
เมื่อกล่าวถึง AEC (ASEAN Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะเกิด ขึ้นในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) อาจดูห่างไกลจากงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่ถ้าพูดถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 จะเห็นว่าเกี่ยวข้องกับงานของ HR อย่างแน่นอน แต่ก่อนที่ชาว HR จะเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ HR คงต้องเห็นภาพกว้างของ AEC ก่อน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คืออะไร
อาเซียน (ASEAN : Association of Southeast Asian Nations) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ คือ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม สำหรับสมาชิก 4 ประเทศคือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม จะเรียกว่า กลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นสมาชิกที่เข้ามาเพิ่มภายหลัง สมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านความมั่นคง ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ จึงได้จัดตั้งประชาคมแต่ละด้าน ดังนี้
•ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community : ASC) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกอยู่อย่างสันติสุขและมีความมั่นคง
•ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community : ASCC)มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชากรของประเทศสมาชิกมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และได้รับการพัฒนาในทุกด้าน
•ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
สำหรับ AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) นั้น ได้มีการจัดทำAEC Blueprint ซึ่งได้กำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนจนถึงปีพ.ศ. 2558 อาเซียนจะไม่เก็บภาษีสินค้ากับประเทศสมาชิก นอกจากนี้ใน AEC Blueprint ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้านหลัก ดังนี้
1.การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน ให้สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ (Skilled Labour) ได้อย่างเสรี
2.การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน เช่น กำหนดกรอบนโยบายภาษี นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค เพราะประเทศสมาชิกอาเซียนจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสมาชิกเก่าซึ่งมีฐานทางเศรษฐกิจดีกว่ากลุ่มสมาชิกใหม่ (กลุ่ม CLMV)
4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจทั่วโลก ดำเนินการเพื่อประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี การสร้างเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย
นอกจากนี้ยังมีการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นในด้านต่างๆ เช่น อาเซียน + 3 (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น), อาเซียน + 6 (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เป็นต้น
จาก 4 ยุทธศาสตร์หลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กล่าวมาข้างต้น ชาว HR คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกิดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะไม่กระทบกับการทำงานของฝ่าย HR เลย แต่ผลกระทบที่มีต่อ HR ในแต่ละองค์กรจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าซีอีโอขององค์กรที่ท่านทำงานอยู่จะกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจไปในทิศทางใด ส่วน HR ก็ต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับบุคลากรให้สอดคล้องกัน HR หลายท่านต้องเหนื่อยหน่อย ถ้าพื้นฐานด้านบุคลากรไม่แข็งแรง ไม่สามารถตอบสนองทิศทางการดำเนินธุรกิจได้
ผลกระทบของ AEC ต่อเศรษฐกิจของไทย
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้สรุปผลกระทบจากการลดอัตราภาษีเป็น 0% ในปี พ.ศ. 2558 ไว้ดังนี้
•GDP ของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ คือ เพิ่มขึ้นอีก 1.75%
•มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ดังนี้
•มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 3,404.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ดังนี้
ดิฉันนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.citsonline.utcc.ac.th
ผลกระทบของ AEC ต่อการทำงานของ HR
การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีที่จะเริ่มขึ้นนั้น AEC ได้กำหนดไว้ว่าแรงงานกลุ่มนี้ต้องเป็นแรงงานฝืมือที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ซึ่งเริ่มที่ 7 สาขา คือ
1.แพทย์
2.ทันตแพทย์
3.พยาบาล
4.วิศวกรรม
5.บัญชี
6.สถาปัตยกรรม
7.การสำรวจ
นับว่าโชคดีที่เริ่มต้นด้วยการกำหนดเฉพาะกลุ่มแรงงานฝีมือใน 7 สาขาวิชาชีพเท่านั้น เพราะหากปล่อยให้เป็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเลย อาจเกิดความวุ่นวายขึ้นได้ เราลองมาจินตนาการดูว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในเวลานั้น ภาพในจินตนาการคงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เพราะ AEC อาจเพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างเมื่อใกล้ๆ ถึงวันเริ่มต้นจริงๆ ตัวอย่าง เช่น
1.ในภาพรวมของตลาดแรงงานไทย (ในมิติของคนทำงาน) คยไทยที่มีอาชีพใน 7 สาขาข้างต้น ถ้าเป็นคนเก่ง มีความพร้อมที่จะทำงานไกลบ้าน และทักษะการใช้ภาษาดีซึ่งอาจไม่ใช่ภาษา อังกฤษอย่างเดียว จะมีโอกาสหางานที่โดนใจมากขึ้นเพราะตลาดแรงงานจะใหญ่ขึ้น คนกลุ่มนี้อาจไปทำงานที่สิงคโปร์ซึ่งได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า และจะกลับบ้านเมื่อไรก็ได้ ใกล้นิดเดียว ดังนั้นการย้ายงานจะอยู่ในลักษณะระหว่างประเทศ ไม่ใช่ระหว่างองค์กรใหญ่ๆ
2.ในภาพรวมของตลาดแรงงานไทย (ในมิติขององค์กร) ในเมื่อตลาดแรงงานใหญ่ขึ้นมาก องค์กรก็มีโอกาสในการเลือกแรงงานฝีมือจาก 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้เช่นกัน ไม่ว่าจะจ้างเข้ามาทำงานในประเทศไทย (ตรงนี้ HR ต้องจัดอบรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้ามชาติ หรือ Cross – Cultural) หรือ ย้ายองค์กร/เพิ่มสาขาไปยังประเทศที่มีแรงงานฝีมือตามที่ต้องการ
3.ในภาพขององค์กรที่เห็นโอกาสทางธุรกิจ เช่น ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์, ตลาดใหญ่ขึ้นเพราะ 10 ประเทศรวมเป็นตลาดเดียว (ประชากรเกือบ 600 ล้านคน), การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ช่วยลดต้นทุนไม่ว่าจะเป็นต้นทุนแรงงาน หรือ ต้นทุนการขนส่งเพราะมีระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและถูกลง ฯลฯ แต่เมื่อองค์กรต้องการคว้าโอกาสที่เห็น กลับไม่มีคนทำงาน HR ต้องคิดวิธีการสรรหาคนที่มีคุณสมบัติตรงตามต้องการ, วิธีรักษาและพัฒนาบุคลากรไว้ล่วงหน้า เช่น การกำหนดค่าตอบแทนสำหรับคนไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศและสำหรับคนต่างประเทศที่จะมาทำงานในไทย, การปรับโครงสร้างค่าจ้างให้แข่งขันได้, การคิดรูปแบบสวัสดิการที่ตรงกับพนักงานในกลุ่มต่างๆ, การจัดอบรมและกิจกรรมเพื่อให้คนหลายเชื้อชาติทำงานร่วมกันได้, การสร้างสภาพแวดล้อมให้คนทำงานรู้สึกกระฉับกระเฉง มีบรรยากาศของการเรียนรู้ ฯลฯ การจัดโปรแกรมการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าการหาคนที่ “ใช่” เข้ามาทำงานเพราะการพัฒนาให้คนเก่งขึ้นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 – 5 ปี
4.ในภาพขององค์กรเช่นกัน แต่เป็นองค์กรที่คาดว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทาย เพราะคู่แข่งจะเข้ามาถึงในบ้าน เช่น ต้นทุนของคู่แข่งต่ำกว่า, เกิดคู่แข่งใหม่ๆ หรือ อาจสูญเสียธุรกิจให้คู่แข่ง ในสถานการณ์เช่นนี้ HR ต้องช่วยสนับสนุน CEO ในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงก่อนที่วิกฤตจะมาถึงจริงๆ เพราะเมื่อถึงเวลานั้นต้องเปลี่ยนจากการบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management) เป็นการบริหารวิกฤต (Crisis Management) แทน และต้องปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ ตั้งแต่การปรับโครงสร้างองค์กรให้เกิดความคล่องตัว การปรับกระบวนการทำงานให้กระชับขึ้น การปรับทีมงานให้เหมาะสม และการสร้างความรู้สึกร่วมที่จะพัฒนาตนเองและร่วมฝ่าฟันไปด้วยกัน สิ่งสำคัญ CEO ต้องเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ และเมื่องานสำเร็จตามแผนการปรับเปลี่ยนต้องให้รางวัล
สรุปว่าในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) อาเซียนจะเปลี่ยนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็นทั้ง “โอกาส” ที่คนไทยจะไปตักตวงผลประโยชน์ในต่างประเทศและเป็น “ความท้าทาย” ที่คนไทยต้องปรับตัวเพื่อให้แข่งขันกับต่างประเทศที่จะเข้ามาฉกฉวยโอกาสในประเทศของเราเช่นกัน เหลือเวลาอีกเพียง 4 ปีเท่านั้น คุณพร้อมแล้วหรือยังคะ?
ข้อมูลจากhttp://www.cdcthailand.com/news/HR/hr_law/2011/hr11_100.html
เทรนด์การบริหารงานบุคคล ปี 2555
เทรนด์การบริหารงานบุคคล ปี 2555
มี 4 ประเด็นที่ร้อนแรงในปีนี้ คือ Technology, Diversity, Mobility และ Employability
โดย สำหรับปี 2554 ที่เพิ่งผ่านไป แม้ว่าแนวโน้มทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกจะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากปัจจัยทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งเริ่มคลี่คลาย แต่ปัญหามหาอุทกภัยตอนปลายปีก็ส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้การดำเนินธุรกิจขาดความต่อเนื่อง มาตรการเตรียมความพร้อมสำหรับบริหารงานในภาวะวิกฤต(Crisis Management) โดยกำหนดแผนรองรับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กลายเป็นประเด็นใกล้ตัวที่ทุกองค์กรต้องหันมาเอาใจใส่มากขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาการสรรหาและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพที่ขาดแคลน ซึ่งจะทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) กำลังจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติ การเปิดเสรีให้แรงงานฝีมือเคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระ ทำให้พนักงานที่มีความรู้ความสามารถสูงมีโอกาสมากขึ้นที่จะเคลื่อนย้ายไปทำงานในตลาดแรงงานอื่นๆ ในภูมิภาค
ถ้ามองทิศทางการบริหารงาน HR ในปี 2555 ประเด็นสำคัญที่นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรพิจารณาเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดกลยุทธ์ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องเดิม แต่อาจมีแง่มุมของปัญหาที่เปลี่ยนไป รวมทั้งมีเรื่องใหม่ๆ ที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเช่นกัน ถ้าจะกล่าวโดยรวม สามารถแยกออกได้เป็น 4 ประเด็น คือ Technology, Diversity, Mobility และ Employability
Technology: HR จะก้าวไกลต้องอาศัย ไอที เทคโนโลยี
เทคโนโลยีสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงาน HR มาใช้ในงานบริหารบุคคลมีการพัฒนามากขึ้นเป็นลำดับ นอกเหนือจากจะช่วยในเรื่องการการสื่อสารภายในองค์กรได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เช่น เว็บสื่อสารสำหรับพนักงาน (Employees’ Portals) การประชุมทางไกลด้วยวิดีโอ (VDO Conference) เทคโนโลยียังช่วยให้พนักงานสามารถบริหารจัดการข้อมูลทางออนไลน์ได้ด้วยตนเอง (Employee Self-Service Online) เช่น การลากิจ ลาป่วย การใช้สิทธิ์บริการด้านสุขภาพ รวมทั้งระบบแจ้งเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาระบบสำหรับหัวหน้างานใช้บริหารบุคลากรในหน่วยงานของตนเอง เช่นระบบการประเมินผลงานที่เชื่อมโยงเป้าหมายและดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน การให้รางวัลและการยกย่องผลงาน เป็นต้น เทคโนโลยีสำหรับ HR ที่จะถูกนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต คือ ระบบที่ช่วยในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เช่น การใช้ e-learning เพื่อสร้างความสะดวกสำหรับผู้เรียน สามารถเข้าไปศึกษาและพัฒนาความรู้ของตนเองได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โปรแกรมฝึกอบรมที่ผสมผสานการใช้คอมพิวเตอร์ สร้างแบบจำลองสถานการณ์ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น การใช้เว็บบอร์ดและ Weblog เพื่อสร้างความสะดวกให้พนักงานมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน รวมทั้งระบบติดตามและสนับสนุนการสอนงาน (Mentoring and Coaching) เป็นต้น ที่สำคัญและเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น คือ การใช้ Twitter และ Facebook เป็นช่องทางสื่อสารสำหรับองค์กรถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับบุคคลภายนอก สนับสนุนการรับสมัครงาน รวมทั้งยังช่วยลดช่องว่างการสื่อสารระหว่างคนต่างรุ่น อีกด้วย
Diversity: ถึงเวลาต้องเรียนรู้การบริหารงานบนความหลากหลาย
โครงสร้างบุคลากรในองค์กรส่วนใหญ่ มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เริ่มมีบุคลากรอายุน้อย กลุ่ม Generation Y มากขึ้น ผสมผสานกับผู้บริหารระดับสูงในกลุ่ม Baby Boomer และ ผู้บริหารระดับกลางในกลุ่ม Generation X อายุและเพศ เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลาย (Diversity) ที่พบเห็นได้ง่ายในองค์กร ถ้าสามารถบริหารความหลากหลายดังกล่าวได้ดี จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถเสริมศักยภาพขององค์กรให้แข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน ความหลากหลาย (Diversity) ไม่ใช่ความแตกต่าง (Difference) การจัดการความหลากหลายที่ HR ต้องเข้าไปมีส่วนร่วม จึงต้องเริ่มต้นจากส่งเสริมการยอมรับและเคารพในความแตกต่างของแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อมรวมทั้งกฎระเบียบในสำนักงาน ต้องไม่ขัดขวางหรือเลือกปฏิบัติ HR ควรทำงานร่วมกับผู้บริหาร สร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน เน้นเพิ่มพื้นที่เปิด (Open Space) สำหรับการนั่งพูดคุยหรือประชุมงาน รวมทั้งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ถ้าพนักงานรู้สึกมีอิสระ สามารถแสดงออกโดยไม่ติดขัดที่ลำดับขั้นในองค์กร จะทำให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างแนวความคิด หรือผลงานใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า องค์กรมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จมากขึ้น ถ้ายอมรับให้มีการเพิ่มสัดส่วนสตรีในคณะกรรมการเจ้าหน้าบริหาร เพราะจะทำให้การตัดสินใจโดยเฉพาะกลยุทธ์ทางการตลาด มีความละเอียดรอบคอบมากขึ้นเนื่องจากผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคได้ดีกว่าผู้ชาย นอกเหนือจากเรื่องเพศและวัย ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจความหลายหลายทางวัฒนธรรมให้มากขึ้นเพราะการเปิดตลาดเสรี ทำให้มีการตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศ การเข้าใจระบบเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ให้การยอมรับและเต็มใจที่จะเรียนรู้ความหลากหลายทางมิติวัฒนธรรมของประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
Mobility: การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ คือโอกาส
อาเซียนมีเป้าหมายให้ปี 2558 เป็นปีเริ่มต้นในการรวมกลุ่มประเทศในลักษณะของ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปได้เสรีมากขึ้น ผลกระทบที่ตามมาคือ แรงงานฝีมือจะออกไปทำงานนอกประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแรงงานในสาขาวิศวกรรม สถาปัตยกรรม แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี ประเทศที่มีศักยภาพ เช่นสิงคโปร์ จะดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถไปร่วมงาน ด้วยค่าแรงที่จูงใจมากกว่า ในอดีตการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือไปทำงานในต่างประเทศ ถูกมองในแง่ลบ ว่านำไปสู่ปัญหาสมองไหล (Brain Drain) แต่ปัจจุบัน ควรจะมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนา หรือ Reverse Brain Drain องค์กรที่มีสำนักงานในต่างประเทศ สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานให้กับพนักงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสสำหรับหมุนเวียนพนักงานในระหว่างสำนักงาน เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แรงงานฝีมือจำเป็นต้องมีความสามารถเชิงสมรรถนะที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานสากล เช่น การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English Communication) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) ความแคล่วคล่องในการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ความคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking) และการตระหนักรู้ในวัฒนธรรม (Cultural Awareness) HR จำเป็นต้องออกแบบการพัฒนาบุคลากรให้พนักงานท้องถิ่นมีความสามารถเพียงพอและมีศักยภาพตามที่หน่วยงานในต่างประเทศต้องการ การหมุนเวียนพนักงานไปทำงานในต่างประเทศจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการรักษาคนเก่ง (Talent Retention) ให้อยู่กับองค์กรได้นานขึ้น
Employability: จะได้งานดี ต้องมีทั้ง ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์
ในอดีต HR มักจะถามผู้สมัครงานว่าจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์กับองค์กรได้บ้าง แต่ในปัจจุบันการสรรหาคนเก่งไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้สมัครจะตั้งคำถามกลับว่า ถ้าเลือกที่จะมาทำงานที่นี่จะได้เรียนรู้อะไรบ้าง ความรู้ ที่เรียนมาจากสถาบันการศึกษาอาจใช้ได้แค่บางส่วน การทำงานในองค์กรที่ดี จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความ สามารถ และถ้าได้รับการสอนงานจากหัวหน้างานที่เป็นต้นแบบ (Role Model) จะยิ่งเพิ่มศักยภาพได้ในช่วงเวลาอันสั้น หากบุคลากรสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นไปได้ว่าองค์กรอาจไม่สามารถรักษาพนักงานไว้ได้นาน เพราะคนรุ่นใหม่จะแสวงหาสิ่งที่ท้าทายกว่าอยู่เสมอ HR จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการเพื่อให้สามารถรักษาคนเก่งไว้ได้นาน ๆ ซึ่งรวมถึงการบริหารค่าตอบแทนต้องเป็นไปแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ไม่ใช่จ่ายตามอายุงาน ตำแหน่งหรือขอบเขตความรับผิดชอบ ต้องจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ใช้งาน ออกแบบการฝึกอบรมให้เหมาะกับตัวพนักงาน (Training Customization) เพิ่มโอกาสโยกย้ายข้ามไปทำงานในหน่วยธุรกิจอื่น เพื่อให้สามารถเรียนรู้งานได้ในวงกว้าง รวมทั้งสร้างบรรยากาศการทำงานที่ทำให้พนักงานรู้สึกสนุกกับงาน และเอื้ออำนวยให้พนักงานอยากนำศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุด
แนวโน้มดังกล่าวข้างต้น มีแง่มุมที่อาจเป็นประโยชน์ต่อนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการกำหนดกลยุทธ์ HR สำหรับปี 2555 ซึ่งการเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ จะช่วยกำหนดทิศทางกลยุทธ์ได้ถูกต้องมากขึ้น
-------------------------
ข้อมูลจาก ดร. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย ติดต่อ nutavoot@bot.or.th
มี 4 ประเด็นที่ร้อนแรงในปีนี้ คือ Technology, Diversity, Mobility และ Employability
โดย สำหรับปี 2554 ที่เพิ่งผ่านไป แม้ว่าแนวโน้มทางเศรษฐกิจในช่วง
ถ้ามองทิศทางการบริหารงาน HR ในปี 2555 ประเด็นสำคัญที่นักบริหารทรัพยา
Technology: HR จะก้าวไกลต้องอาศัย ไอที เทคโนโลยี
เทคโนโลยีสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไป
Diversity: ถึงเวลาต้องเรียนรู้การบริหารงา
โครงสร้างบุคลากรในองค์กรส่วนให
Mobility: การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ คือโอกาส
อาเซียนมีเป้าหมายให้ปี 2558 เป็นปีเริ่มต้นในการรวมกลุ่มประ
Employability: จะได้งานดี ต้องมีทั้ง ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์
ในอดีต HR มักจะถามผู้สมัครงานว่าจะทำอะไร
แนวโน้มดังกล่าวข้างต้น มีแง่มุมที่อาจเป็นประโยชน์ต่อน
-------------------------
ข้อมูลจาก ดร. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร
HAPPY MODEL สร้างสุขให้ ทรัพยากรมนุษย์ จุดเริ่มแรกสมาชิกคุณภาพ AEC
HAPPY MODEL สร้างสุขให้ ทรัพยากรมนุษย์ จุดเริ่มแรกสมาชิกคุณภาพ AEC
อีกเพียง 3 ปี เท่านั้น!!! ประเทศไทยก็จะกลายเป็นหนึ่งเดียวกับภูมิภาคอาเซียน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ด้วยการเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558
ในส่วนของระบบเศรษฐกิจที่ถือเป็นคีย์แมนในการขับเคลื่อนประเทศ ก็กำลังเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างยิ่งยวด เพื่อให้การเปลี่ยนฐานการผลิตเข้าสู่โหมดของ AEC สร้างคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ ให้แก่ ประเทศไทย และน่าทึ่งว่ามุมมองของการปรับเปลี่ยนเตรียมพร้อมนี้ มิได้มุ่งหวังแต่การทำกำไรหรือมุ่งเน้นแต่จะสร้างสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) แต่หากยังคำนึงถึงการพัฒนาฐานเศรษฐกิจในรูปแบบ องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ร่วมด้วย
โดยงานนี้หัวเรือใหญ่จากภาคธุรกิจอย่าง พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิพล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยบอกไว้ว่า การเข้าสู่การเป็นสมาชิก AEC จำเป็นที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อม เพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นอย่างสูงสุด แต่กระนั้น เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบโดยตรงในการเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นได้เลย จึงจำเป็นที่จะต้องหากลไกวิธีการให้การแข่งขันที่รุนแรงนี้ ไม่กระทบกับความเป็นอยู่ของแรงงานไทยที่มีคุณภาพและฝีมือ ส่วนตัวคิดว่าหลักคิดแบบองค์กรแห่งความสุขหรือแฮปปี้ เวิร์คเพลส ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) จะเป็นเครื่องมือตอบโจทย์ในจุดนี้ได้
ขึ้นชื่อว่าเป็นสภาอุตสาหกรรม สมาชิกส่วนใหญ่จึงเป็นระบบการผลิตที่มีพนักงาน เจ้าหน้าที่ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ในที่ทำงานอาทิตย์ละ 5-6 วัน วันละ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่า ทำให้บรรยากาศในการทำงานไม่น่าพิศมัย เนื่องจากเน้นการแข่งขันที่เร่งรีบและกดดันเป็นหลัก ทำให้ผู้คนไม่อยากตื่นเช้ามาทำงานสักเท่าไรนัก หรือถ้ามาทำก็ทำแบบซังกะตายไปอย่างนั้น
ทว่า หลังจากที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดได้ร่วมมือกับ สสส. จัดทำโครงการแฮปปี้ เวิร์กเพลส กับองค์กรต่างๆ ผลที่ออกมานั้นดีเกินคาด เพราะมุมมองต่อแรงงานนั้นเปลี่ยนไป คือไม่ได้มองแค่เชิงของรายได้หรือจำนวนการผลิต แต่มองในเชิงฝีมือ การให้ใจ การสร้างความสุขในที่ทำงานมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ตอบกลับมาก็คือพนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ความร่วมมือกับองค์กรจนบริษัทเจริญรุดหน้า ซึ่งนั่นหมายถึงการขับเคลื่อนระดับประเทศ
"ภายใต้การเปิดเสรี AEC ที่อาจทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ขณะที่ทุนแรงงานหรือมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอยู่รอดขององค์กรท่ามกลางกระแสการค้าเสรี ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นภูมิคุ้มกันต่อการเปิดเสรี AEC" พยุงศักดิ์ ระบุ
เขายังบอกต่อด้วยว่า ผู้นำองค์กรในฐานะที่เป็นปัจจัยหลักในการสร้างความสุขในที่ทำงาน ต้องส่งเสริมการทำงานและกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการทำงาน การสร้างขวัญกำลังใจ รวมถึงโอกาสและความพึงพอใจให้แก่พนักงานของตนเอง จึงเป็นบทสรุปได้ว่าการพัฒนาทุนมนุษย์จำเป็นต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับวิสัยทัศน์ของผู้นำในอันที่จะสร้างความสุขในที่ทำงาน
"ผมมองว่าแฮปปี้ เวิร์กเพลส เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสมดุลระหว่างความสุขและความสำเร็จ องค์กรที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลสามารถริเริ่มความสุขแก่พนักงานได้เพียงแค่กล้าปรับทัศนคติเรื่องคน และมีการลงทุนเพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวคน เพื่อให้แรงงานเหล่านี้นำความรู้และทักษะที่เพิ่มพูน มาพัฒนาผลิตภาพแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงาน อันจะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีภายใต้กรอบ AEC จึงเป็นความท้าทายไม่น้อยว่า องค์กรหรือบริษัทของไทยจะรักษาแรงงานฝีมือที่มีอยู่ไว้ได้อย่างไร" พยุงศักดิ์ ให้ข้อคิดเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม นอกจากการนำเอาแนวคิดแฮปปี้ เวิร์กเพลส เข้าสู่ระบบการทำให้เศรษฐกิจไทยมุ่งหน้าสู่ AEC อย่างมีคุณภาพแล้ว ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังได้คลอด 5 ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ AEC ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงพาณิชย์ ในการประชุมหารือ หรือแลกเปลี่ยนการเยือนของภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เน้นการปรับตัวและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ AEC โดยเร่งการผลักดันการกำหนดมาตรฐานสินค้าอาเซียน ควบคู่กับการกำหนดมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้านำเข้า เพื่อป้องกันการนำสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 เตรียมความพร้อมด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานใน AEC ด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานให้อยู่ในระดับสากล และผลักดันในภาษาอังกฤษภาษาทางการภาษาที่ 2 ของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เนื่องจากขาดความเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทางกระทรวงคมนาคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบขนส่งที่เชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรม และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสร้างหรือรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนการผลิต แรงงาน วัตถุดิบ หรือต้นทุนโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยศึกษาจากการวิจัยข้อมูลเชิงลึกด้านกฎหมาย กฎระเบียทางการค้าการลงทุน และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน "คน" สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร ...และการจะให้คนทำงานอย่างมีความสุขภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมตามแนวคิด แฮปปี้ เวิร์กเพลส ได้อย่างแท้จริงนั้น ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์อันแรงกล้าของทั้งผู้นำสูงสุดขององค์กร ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ และตัวพนักงานขององค์กรเอง ที่จะร่วมใจกับการเปลี่ยนที่ทำงานให้เป็นบ้านหลังที่สอง และสร้างสรรค์ให้เป็นองค์กรแห่งความสุขอย่างแท้จริง
สนใจแนวคิด "องค์กรแห่งความสุข หรือ Happy Work Place" ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฝากบอกว่าไม่ควรพลาดงาน Happy Workplace Forum:5 Apps to happy Workplace3.0 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 มี.ค.2555 ณ ห้องบอลลูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมwww.thaihealth.or.th
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 00:00:40 น.
อีกเพียง 3 ปี เท่านั้น!!! ประเทศไทยก็จะกลายเป็นหนึ่งเดียวกับภูมิภาคอาเซียน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ด้วยการเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558
ในส่วนของระบบเศรษฐกิจที่ถือเป็นคีย์แมนในการขับเคลื่อนประเทศ ก็กำลังเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างยิ่งยวด เพื่อให้การเปลี่ยนฐานการผลิตเข้าสู่โหมดของ AEC สร้างคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ ให้แก่ ประเทศไทย และน่าทึ่งว่ามุมมองของการปรับเปลี่ยนเตรียมพร้อมนี้ มิได้มุ่งหวังแต่การทำกำไรหรือมุ่งเน้นแต่จะสร้างสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) แต่หากยังคำนึงถึงการพัฒนาฐานเศรษฐกิจในรูปแบบ องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ร่วมด้วย
โดยงานนี้หัวเรือใหญ่จากภาคธุรกิจอย่าง พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิพล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยบอกไว้ว่า การเข้าสู่การเป็นสมาชิก AEC จำเป็นที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อม เพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นอย่างสูงสุด แต่กระนั้น เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบโดยตรงในการเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นได้เลย จึงจำเป็นที่จะต้องหากลไกวิธีการให้การแข่งขันที่รุนแรงนี้ ไม่กระทบกับความเป็นอยู่ของแรงงานไทยที่มีคุณภาพและฝีมือ ส่วนตัวคิดว่าหลักคิดแบบองค์กรแห่งความสุขหรือแฮปปี้ เวิร์คเพลส ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.) จะเป็นเครื่องมือตอบโจทย์ในจุดนี้ได้
ขึ้นชื่อว่าเป็นสภาอุตสาหกรรม สมาชิกส่วนใหญ่จึงเป็นระบบการผลิตที่มีพนักงาน เจ้าหน้าที่ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ในที่ทำงานอาทิตย์ละ 5-6 วัน วันละ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่า ทำให้บรรยากาศในการทำงานไม่น่าพิศมัย เนื่องจากเน้นการแข่งขันที่เร่งรีบและกดดันเป็นหลัก ทำให้ผู้คนไม่อยากตื่นเช้ามาทำงานสักเท่าไรนัก หรือถ้ามาทำก็ทำแบบซังกะตายไปอย่างนั้น
ทว่า หลังจากที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดได้ร่วมมือกับ สสส. จัดทำโครงการแฮปปี้ เวิร์กเพลส กับองค์กรต่างๆ ผลที่ออกมานั้นดีเกินคาด เพราะมุมมองต่อแรงงานนั้นเปลี่ยนไป คือไม่ได้มองแค่เชิงของรายได้หรือจำนวนการผลิต แต่มองในเชิงฝีมือ การให้ใจ การสร้างความสุขในที่ทำงานมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ตอบกลับมาก็คือพนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ความร่วมมือกับองค์กรจนบริษัทเจริญรุดหน้า ซึ่งนั่นหมายถึงการขับเคลื่อนระดับประเทศ
"ภายใต้การเปิดเสรี AEC ที่อาจทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ขณะที่ทุนแรงงานหรือมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอยู่รอดขององค์กรท่ามกลางกระแสการค้าเสรี ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นภูมิคุ้มกันต่อการเปิดเสรี AEC" พยุงศักดิ์ ระบุ
เขายังบอกต่อด้วยว่า ผู้นำองค์กรในฐานะที่เป็นปัจจัยหลักในการสร้างความสุขในที่ทำงาน ต้องส่งเสริมการทำงานและกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการทำงาน การสร้างขวัญกำลังใจ รวมถึงโอกาสและความพึงพอใจให้แก่พนักงานของตนเอง จึงเป็นบทสรุปได้ว่าการพัฒนาทุนมนุษย์จำเป็นต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับวิสัยทัศน์ของผู้นำในอันที่จะสร้างความสุขในที่ทำงาน
"ผมมองว่าแฮปปี้ เวิร์กเพลส เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสมดุลระหว่างความสุขและความสำเร็จ องค์กรที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลสามารถริเริ่มความสุขแก่พนักงานได้เพียงแค่กล้าปรับทัศนคติเรื่องคน และมีการลงทุนเพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวคน เพื่อให้แรงงานเหล่านี้นำความรู้และทักษะที่เพิ่มพูน มาพัฒนาผลิตภาพแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงาน อันจะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีภายใต้กรอบ AEC จึงเป็นความท้าทายไม่น้อยว่า องค์กรหรือบริษัทของไทยจะรักษาแรงงานฝีมือที่มีอยู่ไว้ได้อย่างไร" พยุงศักดิ์ ให้ข้อคิดเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม นอกจากการนำเอาแนวคิดแฮปปี้ เวิร์กเพลส เข้าสู่ระบบการทำให้เศรษฐกิจไทยมุ่งหน้าสู่ AEC อย่างมีคุณภาพแล้ว ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังได้คลอด 5 ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ AEC ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงพาณิชย์ ในการประชุมหารือ หรือแลกเปลี่ยนการเยือนของภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เน้นการปรับตัวและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ AEC โดยเร่งการผลักดันการกำหนดมาตรฐานสินค้าอาเซียน ควบคู่กับการกำหนดมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้านำเข้า เพื่อป้องกันการนำสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 เตรียมความพร้อมด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานใน AEC ด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานให้อยู่ในระดับสากล และผลักดันในภาษาอังกฤษภาษาทางการภาษาที่ 2 ของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เนื่องจากขาดความเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทางกระทรวงคมนาคม จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบขนส่งที่เชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรม และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสร้างหรือรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนการผลิต แรงงาน วัตถุดิบ หรือต้นทุนโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยศึกษาจากการวิจัยข้อมูลเชิงลึกด้านกฎหมาย กฎระเบียทางการค้าการลงทุน และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน "คน" สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร ...และการจะให้คนทำงานอย่างมีความสุขภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมตามแนวคิด แฮปปี้ เวิร์กเพลส ได้อย่างแท้จริงนั้น ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์อันแรงกล้าของทั้งผู้นำสูงสุดขององค์กร ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ และตัวพนักงานขององค์กรเอง ที่จะร่วมใจกับการเปลี่ยนที่ทำงานให้เป็นบ้านหลังที่สอง และสร้างสรรค์ให้เป็นองค์กรแห่งความสุขอย่างแท้จริง
สนใจแนวคิด "องค์กรแห่งความสุข หรือ Happy Work Place" ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฝากบอกว่าไม่ควรพลาดงาน Happy Workplace Forum:5 Apps to happy Workplace3.0 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 มี.ค.2555 ณ ห้องบอลลูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมwww.thaihealth.or.th
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 00:00:40 น.
แนวทางการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคม
|
BPM: แผนผังบูรณาการกระบวนการธุรกิจ
BPM: แผนผังบูรณาการกระบวนการธุรกิจ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดย ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอม วันที่ 2010-06-09 14:12:01 ผู้อ่าน 1617 คน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)