7.01.2555

หลักการกำหนดทิศทางของแผนทรัพยากรบุคคล

หลักการกำหนดทิศทางของแผนทรัพยากรมนุษย์   ในการกำหนดทิศทางของแผนทรัพยากรมนุษย์  จะต้องดำเนินการเรื่องต่อไปนี้  
1.)  การกำหนดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน  เช่น แผนทรัพยากรมนุษย์ขององค์การจะต้องเป็นระบบและตอบสนองต่อ        การขยายตัวทางธุรกิจ  และใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า 
 2.)  การกำหนดระยะเวลาที่จะดำเนินการ มีการระบุปฏิทินการปฏิบัติงานตามแผนอย่างชัดเจน 
 3.)  การทำความเข้าใจเรื่องแผนทรัพยากรมนุษย์  โดย 
       (1)  ชี้แจงเรื่องแผนอัตรากำลังให้ทุกระดับเข้าใจร่วมกัน เพื่อกำหนดทิศทางและวัตถุประสงค์       
       (2)  ฝ่ายบริหารจะต้องมีความมั่นใจว่าทรัพยากรบุคคลทุกฝ่ายทุกระดับมีการรับรู้ ยอมรับ และเข้าใจความจำเป็นและความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงาน 
 4.)  การสื่อสารสมมุติฐานที่ใช้ประกอบการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่ชัดเจน เป็นที่เข้าใจของทุกฝ่ายในองค์การสมมติฐานที่สำคัญ เช่น           
        (1)   อัตราการเจริญเติมโตขององค์การ จะต้องมีอัตราก้าวหน้าสูงกว่าอัตราเจริญเติบโต ของสภาวะเศรษฐกิจ          
        (2)   องค์การมีเป้าหมายการใช้กำลังคนในการให้บริการแก่ลูกค้า จะไม่เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีแทน           
        (3)   มุ่งใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในแต่ละแผนกให้คุ้มค่า ในกรณีนี้อาจกำหนดนโยบาย อาทิ มีเป้าหมายในการพัฒนากำลังคนทดแทนจากภายในองค์การ แทนที่จะสรรหามาจากภายนอก 
 5.)  ผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จะต้องแปลสมมติฐานด้านกำลังคน เช่น ทิศทางของแผนที่จะเชื่อมโยงกับแผนกลยุทธ์ขององค์การ แต่ละส่วนของงานจะต้องตระหนักถึงปัญหาและความต้องการภายในของแต่ละงานเป็นสำคัญ โดยจะต้องดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้          
        (1)   สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาด้านกำลังทรัพยากรมนุษย์           
        (2)   วิเคราะห์แนวโน้มและเป้าหมายด้านกำลังทรัพยากรมนุษย์      
        (3)   กำหนดนโยบายและเป้าหมายด้านทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องการใช้กำลังคน การพัฒนากำลังคน การสรรหา การโยกย้ายสับเปลี่ยนงาน และการพัฒนาอาชีพ      
        (4)  สื่อสารและทำความเข้าใจเพี่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริการระดับสูง และทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ  
6.)  สิ่งที่มีผลกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จะต้องพิจารณาถึงเรื่องต่อไปนี้          
        (1)   ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ได้ใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การแล้วหรือไม่  เพียงใดและได้ประโยชน์คุ้มค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายหรือไม่           
        (2)   มีแผนการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การหรือไม่ อย่างไร          
        (3)   อัตราสูญเสียกำกังคนในอนาคตจะรุ่นแรงหรือไม่ โดยพิจารณาว่าจะสูญเสียกำลังคนประเภทใด ระดับใดในกลุ่มสายงานใด มีจุดใดบ้างที่ได้รับผลกระทบและเมื่อใด รวมถึงศึกษาสาเหตุของการสูญเสียว่ามีอะไรบ้าง            
        (4)   จะใช้เทคนิคและวิธีการในการคาดคะเนทรัพยากรมนุษย์ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานวิธีใดจึงจะเหมาะสม          
        (5)   การสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งจะกระทำโดยวิธีใดจึงจะเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาการขาดแคลนกำลังคน          
        (6)   ระยะเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ควรจะเป็นเท่าใด เช่น ทบทวนทุกๆ 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น           
        (7)   การจัดทำแผนทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างเป็นระบบหลักการต่างๆ ที่ได้นำเสนอข้างต้นนี้จะต้องนำมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น